sumet1150 - พละศึกษา

 

พลศึกษาจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา บทความนี้ต้องการ การจัดหน้า การจัดหมวดหมู่ และใส่ลิงก์ภายใน เพื่อให้บทความมีคุณภาพดียิ่งขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก หรือใช้ป้ายข้อความอื่นระบุสิ่งที่ต้องแก้ไขให้เจาะจง พลศึกษา เป็นศาสตร์และศิลป์ที่ได้รับการถ่ายทอดมานานจากคนตะวันตก ที่เน้นร่างกายเป็นสิ่งสำคัญมากกว่าจิตใจ ที่มีความแข็งแรง ความเร็ว ความอ่อนตัว ความคล่องแคล่ว ความทนทาน และระบบไหลเวียนโลหิต จนมีหลักการที่พูดกันว่า A SOUND MIND IN A SOUND BODY หรือ จิตใจที่แข็งแกร่งย่อมอยู่ในร่างกายที่แข็งแรง แต่ในความเป็นจริง คนตะวันออก พูดถึงพลศึกษามานานในรูปแบบทางจิตใจ นั่นคือ พละ 5 ธรรมที่เป็นพลัง มีสัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา แต่ไม่ได้รับการตอบรับมากนัก จนมีหลักการที่ว่า จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว จึงเห็นได้ว่า พลศึกษาต้องเกี่ยวโยงทั้งสองด้านคือ ร่างกายและจิตใจ ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ และทั้งคู่ต้องทำงานไปพร้อมๆกัน และที่สำคัญต้องบังคับร่างกายให้ได้ตามที่ต้องการและควบคุมจิตใจตนเองให้นิ่ง พลศึกษา ประกอบด้วย สรีรวิทยาการออกกำลังกาย,วิทยาศาสตร์การกีฬา,จิตวิทยาการกีฬา,ชีวกลศาสตร์และกีฬาเวชศาสตร์ ซึ่งเนื้อหาเหล่านั้นจัดเป็นสาขาวิชาหนึ่งหรืออาจเป็นภาควิชาหนึ่งหรือคณะหนึ่งในมหาวิทยาลัย เนื้อหา [ซ่อน] 1 พลศึกษาในเชิงร่างกาย 2 พลศึกษาในเชิงจิตใจ 3 พลศึกษาในเชิงการศึกษา 4 การศึกษา วิชาพลศึกษา สำหรับ ครูพลศึกษา 5 อ้างอิง [แก้] พลศึกษาในเชิงร่างกายพลศึกษาในเชิงร่างกาย ก็คือการทำให้ร่างกายมีพลังที่เป็นรูปธรรม ประกอบด้วย 1 ความแข็งแรง เช่น ข้อมือ สามารถยกสิ่งของหนักได้ 2 ความเร็ว เช่น การวิ่งระยะสั้น 50 เมตร ในเวลาที่กำหนด 3 ความอ่อนตัว เช่น การก้มตัว เข่าตึง ไปหยิบของบนพื้น 4 ความคล่องแคล่ว เช่น การโยกลำตัวหลบหลีกสิ่งกีดขวาง 5 ความทนทาน เช่น การเดินเร็ว หรือวิ่งระยะทางไกล เป็นเวลานาน 6 ระบบไหลเวียนโลหิต เช่น การที่เหงื่อออกจากร่างกาย และการจับชีพจรตามเกณฑ์ที่กำหนด [แก้] พลศึกษาในเชิงจิตใจพลศึกษาในเชิงจิตใจ ก็คือ พละ 5 แปลว่าธรรมอันเป็นกำลัง ที่สถิตย์ในจิตใจคน มีพลังเป็นนามธรรม ประกอบด้วย 1 ศรัทธา - ความเชื่อ คือเชื่อว่าจิตของคนมีพลังแฝงทุกขณะ 2 วิริยะ - ความเพียร คือคนมีความมุ่งมั่น ตั้งใจฝึกฝน ฝึกซ้อม ให้สำเร็จได้ 3 สติ - ความระลึกได้ คือการรู้ตัวทุกขณะ ว่ากำลังเคลื่อนไหว 4 สมาธิ - ความตั้งจิตมั่น คือ การนำจิตไปจดจ่อกับการเคลื่อนไหวในขณะนั้น 5 ปัญญา - ความรู้ชัดแจ้ง คือ น้อมนำความคิด วิธีคิดว่าขณะที่เคลื่อนไหว ต้องแก้ปัญหาขณะนั้นและคิดการณ์ล่วงหน้าเสมอ [แก้] พลศึกษาในเชิงการศึกษาพลศึกษาในเชิงการศึกษา เป็นส่วนขององค์ประกอบ 4 ประการ ของการศึกษา ตามหลักสูตร 2504 ประกอบด้วย 1 พุทธิศึกษา - การพัฒนาด้านสติปัญญา 2 จริยศึกษา - การพัฒนาด้านคุณธรรม 3 หัตถศึกษา - การพัฒนาทักษะ 4 พลศึกษา - การพัฒนาด้านสุขภาพกายใจ
Today, there have been 4 visitors (5 hits) on this page!
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free